|
ช่วยแนะนำตัวให้บริษัทรู้จักตัวคุณมากขึ้น
แนวทางตอบ: ให้บอกชื่อ – นามสกุล ประวัติการศึกษา เรียนที่ไหน? สาขาอะไร? ประวัติการทำงาน ทำตำแหน่งอะไร
รายละเอียดงานคร่าวๆที่ทำมี
อะไรบ้าง
ถ้าเป็นนักศึกษาจบใหม่ให้เพิ่มประวัติการฝึกงาน กิจกรรมที่ทำระหว่างศึกษาลงไปด้วย
ไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดถึงขั้น พ่อแม่พี่น้องชื่อ
อะไรหรือพ่อแม่ประกอบอาชีพอะไร ยกเว้นผู้สัมภาษณ์ถาม
Tip : ไม่ว่าจะเจอคำถามที่โหด
หรือสะเทือนใจแค่ไหน อย่าร้องไห้ออกมาเด็ดขาด ถ้าดูsensitiveมากเกินไป คุณอาจไม่ได้งานค่ะ
ทำไมถึงเลือกเรียนคณะนี้?
แนวทางตอบ: ควรตอบเหตุผลโดยเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เรียน
กับตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร แม้สาขาที่เรียนกับตำแหน่งงานที่ต้องการสมัครจะไม่
ตรงกัน
แต่ให้พยายามหาจุดเชื่อมโยงกันให้ได้ เช่น คุณสมัครงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคล แต่จบด้าน กฎหมายมา คุณอาจบอกว่า
ดิฉันชอบ
กฎหมายเพราะรู้สึกว่ามันสอดคล้องกับธรรมชาติของความเป็นมนุษย์
เพื่อที่จะสามารถนำไปปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่อยู่รอบตัวได้
เช่น
กฎหมายแรงงาน ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้างหรือตอบโดยใช้จุดเด่น
ทักษะ ความสามารถ ที่ควรมีในตำแหน่งงานนั้น
(Competency) เช่น
ผมเป็นคนชอบสังเกตและชอบคำนวณ (หมายเหตุเป็นCompetency ของวิศวกร) จึงเลือกเรียนสาขาวิศวะฯครับ และ
ตอนทำโปรเจคจบผมได้เขียนแบบ
และ คำนวณอัตราการไหลของน้ำผ่านท่อในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย
สิ่งที่ไม่ควรตอบ: อย่าพูดว่า เรียนตามเพื่อน, บังเอิญสอบติดก็เลยเรียน หรือพ่อแม่บังคับให้เรียนเด็ดขาด
ทำไมถึงเลือกสมัครงานตำแหน่งนี้?
แนวทางตอบ: ถ้าตรงกับสาขาที่เรียนมา
อาจตอบว่าเพราะตรงกับสาขาที่เรียน และมีความชอบงานด้านนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ถ้าไม่ตรงกับ
สาขาที่เรียน
ให้ตอบทำนองที่ว่าชอบงานด้านนี้เพราะ......(ใส่เหตุผลที่ชอบ)
คุณรู้จักบริษัทนี้ได้อย่างไร
ทำไมถึงเลือกที่จะสมัครงานกับบริษัทเรา
แนวทางตอบ: สามารถตอบตามตรงว่าคุณเจอบริษัทนี้ได้จากไหน
เช่น เห็นประกาศรับสมัครงานมาจากเว็บ Jobthai.com และพูดเสริมถึงรายละเอียด
ของบริษัทเพื่อแสดงความใส่ใจของเราที่มีต่อบริษัทของนายจ้าง
เช่น บริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร? บริษัทดำเนินธุรกิจมานานแค่ไหน? สำนักงาน
ใหญ่ตั้งอยู่ที่ไหน
บริษัทที่คุณไปสัมภาษณ์เป็นบริษัทแม่หรือบริษัทในเครือ
นอกจากนี้อาจพูดเสริมไปด้วยอีกว่า ที่เลือกสมัครงานที่นี่เพราะอยู่ใกล้
บ้าน
หรือสนใจบริษัทที่ทำธุรกิจประเภทนี้อยู่แล้ว
แนวทางตอบ: พูดถึงสิ่งที่อยากทำในอนาคต และต้องบอกวิธีที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ซึ่งควรจะเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่เรากำลังสมัคร เช่นอีก 5 ปีข้างหน้าอยากเป็นนักทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถในการพัฒนาด้านกลยุทธ์ขององค์กร และห้ามตอบว่าอยากเป็นผู้จัดการฝ่าย หรือผู้อำนวยการฝ่าย เพราะว่าผู้ที่สัมภาษณ์คุณอยู่เค้าอาจดำรงตำแหน่งงานนั้นอยู่ การที่เราไปบอกว่าอยากนั่งในตำแหน่งของเค้า เขาอาจมองว่าคุณกำลังเตรียมเข้ามาเลื่อยขาเก้าอี้เขาอยู่ก็ได้
Don't : คำตอบที่ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่เรากำลังสมัคร อาจทำให้ไม่ได้งาน เพราะผู้สัมภาาณ์อาจคิดว่าคุณอาจทำงานกับบริษัทเค้าไม่นาน เช่น อยากมีร้านกาแฟเป็นของตัวเอง หรือ อีก5ปี จะไปช่วยกิจการของครอบครัว เป็นต้น
แนวทางตอบ: ควรเลือกตอบจุดอ่อนที่ไม่มีผลกระทบต่อตำแหน่งงานที่คุณกำลังสมัคร
Tip: ตอบในจุดดีแต่พยายามทำให้เป็นจุดอ่อน เช่น เป็นคนใจอ่อน เห็นใจคนอื่นมากเกินไป , เป็นคนชอบทำงานค่ำมืด จริงจังในการทำงานเกินไป
แนวทางตอบ: คำถามนี้ผู้ถามไม่ได้ต้องการอยากรู้เรื่องส่วนตัวของผู้สมัครแต่อย่างใด แต่ถามเพื่อต้องการนำมาพิจารณาประกอบว่าครอบครัวของผู้สมัครจะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของผู้สมัครหรือไม่ เช่น คนที่มีสามี/ภรรยา หรือแฟนทำงานอยู่คนละจังหวัด อาจถูกมองว่าจะทำงานกับบริษัทได้ไม่นาน เพราะเดี๋ยวอีกหน่อยอาจต้องย้ายไปทำงานใกล้ๆกับคนรัก เป็นต้น
คนที่มีภาระที่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ที่บ้าน อาจถูกมองว่า มีความกตัญญู น่ารับเข้าทำงาน ฯลฯ
คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับหัวหน้าคนเก่าของคุณ?
แนวทางตอบ: ควรพูดแต่ด้านบวก พูดในด้านดีของเจ้านายเก่าเท่านั้น เช่น หัวหน้างานเก่าของดิฉันเป็นคนมีระเบียบและละเอียดรอบคอบมาก เช่น เรื่องคำผิด หรือ วันที่ผิด ในการพิมพ์เอกสารนั้นจะไม่มีให้เห็นเลย ทำให้ดิฉันติดนิสัยตรงนี้มาจากท่าน นั่นคือเวลาที่มีการพิมพ์เอกสารดิฉันจะตรวจสอบรายละเอียด ก่อนนำส่งทุกครั้ง เป็นต้น
Don't: ไม่ควรพูดในด้านลบของ หัวหน้าเก่า เช่น หัวหน้าของดิฉันชอบโยนงานทั้งหมดให้ลูกน้องทำ ตัวเองคอยตรวจงานอย่างเดียว ไม่ค่อยมีเหตุผล ดิฉันเลยตัดสินใจลาออกค่ะ.
รับทำเรซูเม่.com